วันจันทร์ที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

3. กะทือ [สมุนไพรไทย 200 ชนิด]

3. กะทือ [สมุนไพรไทย 200 ชนิด]


ชื่อวิทยาศาสตร์ : Zingiber zerumbet Rose. Smith.

ชื่ออื่น ๆ : กระทือป่า แฮวดำ กะแวน (ภาคเหนือ) เฮียงแดง (แม่อ่องสอน)

ลักษณะทั่วไป

ต้น : เป็นพรรณไม้ล้มลุก ที่มีลำต้นประเภทเดียวกับไพล หรือขิง ลำต้นเป็นหัวอยู่ในดินมีสีขาวอมเหลือง

ใบ : ใบจะออกซ้อนกันเป็นแผง ลักษณะของใบเรียวยาว ใบมีสีเขียวแก่

ดอก : ดอกออกเป็นช่อ โผล่พ้นขึ้นมาจากหัวใต้ดิน ช่อก้านดอกยาว และเป็นปุ้มส่วนปลายมีกลีบเลี้ยงมีสีเขียวปนแดงซ้อนกันอยู่แน่น กลีบดอกมีสีขาวนวล มีลักษณะเป็นหลอด ส่วนปลายกลีบอ้าออก กลีบเลี้ยงจะอุ้มน้ำไว้ได้

ส่วนที่ใช้ : ลำต้น ดอก ใบ เหง้า

สรรพคุณ :
1. ใบ รสขมขื่นเล็กน้อย ต้มเอาน้ำดื่มเป็นยาขับเลือดเน่าในมดลูก (เลือดเน่าร้ายในเรือนไฟ) ขับน้ำคาวปลา แก้ปัสสาวะเป็นโลหิต ใช้ผสมในตำรับยาร่วมกับสมุนไพรอื่นแก้ไข้ป่า อีสุกอีใส เป็นยาประคบเส้นฟกบวม ถอนพิษไข้ กระทุ้งพิษไข้ แก้ไข้อีดำอีแดง แก้หัด แก้ร้อนในกระหายน้ำ แก้ไข้เปลี่ยนฤดู แก้ไข้เซื่องซึมิดสำแดง

2. ดอก รสขมขื่น แก้ไข้เรื้อรัง แก้ผอมแห้ง แก้ไข้ตัวเย็น แก้ไข้ตัวสั่น บำรุงธาตุ แก้ลม

3. เกสร รสเฝื่อนปร่า บำรุงธาตุ แก้ลม

4. ต้น รสขมขื่น เป็นยาแก้เบื่ออาหาร ทำให้เจริญอาหาร แก้ไข้

5. เหง้าหรือลำต้นใต้ดิน รสขมขื่นปร่า แก้แน่นหน้าอก แก้ปวดมวนในท้อง บำรุงน้ำนมให้สมบูรณ์ เป็นยาขับลม แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ บำรุงธาตุ ขับปัสสาวะ แก้เสมหะเป็นพิษ ขับน้ำย่อย เจริญอาหาร แก้บิด ปวดเบ่ง เป็นยาบำรุงกำลัง แก้ฝี ผสมในตำรับยากับสมุนไพรตัวอื่น แก้ไข้ตัวเย็น แก้กระษัย เป็นยาระบาย

6. ราก รสขมขื่นเล็กน้อย แก้ไข้ตัวเย็น แก้ไข้ตัวร้อน แก้ไข้ต่าง ๆ แก้เคล็ด ขัด ยอก

กะทือเป็นพืชล้มลุก ฤดูแล้งจะลงหัว เมื่อถึงฤดูฝนจะงอกใหม่ หัวมีขนาดใหญ่ และมีเนื้อในสีเหลืองอ่อน กลิ่นหอม ต้นสูง 3-6 ศอก ใบยาวเรียวออกตรงข้าม ดอกเป็น ช่อรูปกระบองโบราณ อัดกันแน่นสีแดง ซึ่งเป็นส่วนของใบประดับ มีดอกสีเหลืองอ่อน ขนาดเล็ก บานครั้งละ 1-2 ดอก ปลูกโดยใช้หัว ขึ้นได้ทั่วไป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น